Tuesday, September 25, 2018

#1stTrip Thailand @Thai-Cambodian Border


      


เมื่อกล่าวถึง ' พระเจ้าชัยวรมัน'  หลายคนมักนึกถึง 'อารยธรรมเขมร' บ้างก็ 'ปราสาทหินนครวัด' ที่มักเล่าว่ามีความเจริญรุ่งเรืองในอดีตเป็นนักหนา เนื่องด้วยผู้เขียนมีความสนใจกับอารยธรรมเขมร ทั้งยังได้มีโอกาสไปศึกษาร่องรอยอารยธรรมเหล่านี้ด้วยตัวเองมาแล้ว  แน่นอนว่าผู้เขียนยังไม่เคยไปสัมผัสกับปราสาทหินที่นครวัดประเทศกัมพูชาอย่างแท้จริง  แต่เราจะมาตามรอยพระเจ้าชัยวรมันตามเเนวชายเเดนไทย-กัมพูชา  ซึ่งสถานที่สำคัญเหล่านี้มีความน่าสนใจและน่าค้นหาเป็นอย่างมาก  วันนี้จึงอยากมา รีวิว สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา  เผื่อจะมีผู้ที่สนใจอยากไปเยือนและสัมผัสกลิ่นอายทางวัฒนธรรมดังเช่นผู้เขียน  

*ทริปนี้เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว*



1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี

      ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดเเสดงศิลปะโบราณในสมัยต่างๆ มองซ้ายมองขวาก็มีแต่รูปปั้นนานาสารพัดเต็มไปหมด สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดตั้งแต่ห้องโถงทางเข้า นั่นคือ  รูปปั้นเทวรูปที่สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 12 โดยมีลักษณะเด่นคือ มี 4 กร( อีก 2 กรถูกหักไป) ซึ่งแต่ละกรจับอาวุธ เป็นปฏิมากรรมลอยตัวในศาสนาพราหมณ์  ลักษณะของเทวรูปดังกล่าวตั้งอยู่ในฐานแคบๆ ใช้ชายผ้าและอาวุธเป็นที่ยึด  มีการสวมหมวกแขกหรือหมวกทรงกระบอก เป็นศิลปะที่ถูกผสมผสานกันระหว่างอินเดียและทวารวดี
     นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปแบบทวารวดีที่มีลักษณะโดดเด่นคือ ปางนั่งสมาธิซึ่งถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 12 พบที่นอกเมืองศรีมโหสถ โดยปางดังกล่าวมีลักษณะมีคิ้วต่อกันเป็นรูปปีกกา ปากหนา ตาโปนและจมูกโด่ง  ในพิพิธภัณฑ์นี้ไม่ได้มีแค่หลักฐานที่เป็นประติมากรรมอย่างเดียว  อาทิ สถูปแบบชวา ธรรมจักร จารึก( ที่มีเนื้อหาส่งเสริมด้านคุณธรรมพบที่สระบัว) โครงกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องสังคโลกสมัยต่างๆ ภาพแกะสลักโบราณ เป็นต้น (21 ต.ค. 2560)



รูปปั้นเทวรูปที่สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 12



เสาศิลาสลัก ศิลปะทวารวดี







แผนผังเมืองศรีมโหสถ


เครื่องสังคโลก


ธรรมจักร : ศิลปะสมัยทวารวดีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14


พระพุทธรูปปางนั่งสมาธิซึ่งถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 12


สิงห์ : ศิลปะเขมรแบบบันทายศรี


เครื่องประดับลำตัวกระดองเต่า


โครงกระดูกมนุษย์โบราณ
2. แหล่งโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี
    
สถานที่แห่งนี้นับว่ามีความน่าสนใจไม่แพ้กัน  ผู้เขียนได้มีการสำรวจร่องรอยพระพุทธบาทที่สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังสระเเก้ว ( ชื่อสถานที่นะ ไม่ใช่จังหวัดสระเเก้ว ) เป็นโบราณสถานที่อยู่นอกเมืองโบราณแห่งนี้  สระเเก้วมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัสตุรัส 18*18 เมตร ลึกประมาณ 6.50 เมตร รึมขอบผนังของสระจะมีภาพแกะสลักเป็นภาพสัตว์ปรัมปรา เช่น ช้าง สิงห์ และมังกร เป็นต้น สัตว์ต่างๆ เหล่านี้เป็นความเชื่อตามทัศนคติฮินดู  ซึ่งเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นศิริมงคล โดยสระเเก้วมีอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 10-11   หลังจากนั้นเราก็ได้ไปยังโบราณสถานหมายเลข 22 ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสระเเก้วมากนัก ที่นี่มีการขุดพบชั้นดินด้ายล่างถึงสองชั้น และมีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะพบอีกถ้าขุดลึกลงไปอีก (21 ต.ค. 2560)

ร่องรอยพระพุทธบาท


สระเเก้ว


ภาพสลักสัตว์นำโชค
โบราณสถานหมายเลข 22 


โบราณสถานหมายเลข 22

3. ปราสาทสด๊กก๊อกธม จ.สระเเก้ว

      สด๊กก๊อกธม เป็นภาษาเขมร ในชื่อภาษาไทยเรียกว่า ปราสาทเมืองท้าว
สด๊ก เเปลว่า รก  
ก๊อก แปลว่า ต้นกก
ธม แปลว่า ใหญ่   ดังนั้นเมื่อรวมกันแล้วจึงแปลว่า เมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยต้นกก




 ปราสาทสด๊กก๊อกธม


     ปราสาทสด๊กก๊อกธมแห่งนี้ เป็นศิลปะขอมโบราณ  สร้างในศตวรรษที่ 15-16 ในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 สร้างก่อนนครวัดและเขาพนมรุ้ง มีการพบหลักฐานศิลาจารึกที่สำคัญคือ หลักที่ 2 ถูกค้นพบโดยชาวฝรั่งเศส มีลักษณะสูงจากพื้นเท่ากัน 3 ศอกและเป็นรูปกระโจมสี่เหลี่ยม หลักศิลาจารึกนี้มีเนื้อหาที่ประกอบด้วยรายพระนามกษัตริย์ที่ครองราชย์  และปราสาทแห่งนี้มีเนื้อที่ทั้งหมด 691 ไร่ เชื่อว่าจะมีการทำพิธีน้ำพิพัฒศัตยาปีละหนึ่งครั้ง  แต่สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์อันน่าประทับใจของที่นี่คือ ในทุกวันที่ 22 มีนาคม จะมีพระอาทิตย์ขึ้นตรงช่องประตูตอน 6 โมงเช้าเป็นประจำทุกปี



ปราสาทประธาน



ศิวะลึงค์
บริเวณโดยรอบ
เสานางเรียง


       ภายรอบนอกตัวปราสาทจะมีบารายขนาดใหญ่เนื้อที่ประมาณ 77 ไร่ มีลักษณะคล้ายแก้มลิง อยู่ทางทิศตะวันออกตรงสู่นครวัด  ทางตัวปราสาทจะมีการวางผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม เพราะมีความเชื่อเรื่องจักรวาล มีเสานางเรียงและกำแพงแก้วรายล้อมจนสุดปราสาท (22 ต.ค. 2560)




4. ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์
ปราสาทหินพนมรุ้ง


      ปราสาทหินที่สวยงามแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพนมดงรัก  ชาวจีนเรียกปราสาทหินพนมรุ้งว่า เจนละบก เพราะตั้งอยู่ในดินแดนเขมรสูง  ชาวเขมรเรียกที่นี่ว่า อะนัมรุ้ง  แปลว่าภูเขาอันกว้างใหญ่  สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15 และเสื่อมสลายลงในศตวรรษที่ 18 สร้างในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  ในลัทธิไศวนิกายซึ่งเป็นการยกย่องพระศิวะว่าเป็นมหาเทพ รวมถึงชาวเขมรเชื่อว่า พญานาคเป็นบรรพบุรุษ กษัตริย์เป็นผู้สร้างเองและบูชาเอง จึงมีการสร้างไว้ตรงทางขึ้นสู่ปราสาท



ปราสาทหินพนมรุ้ง
เสานางเรียง


พญานาคราช


ภาพแกะสลักบนพื้นเป็นลักษณะดอกบัว 8 กลีบ


ภายในตัวปราสาทหินพนมรุ้ง


ทับหลังภาพแกะสลักพระอินทร์ประจำทิศ 




โยคะรัตนามูรติ


แท่นศิวะลึงค์


    ในระหว่างทางเข้าสู่ตัวปราสาทจะมี ภาพแกะสลักบนพื้นเป็นลักษณะดอกบัว 8 กลีบ ซึ่งหมายถึงความบริสุทธิ์เหมือนดอกบัว  โดยทางขึ้นสู่ปราสาทจะมีทั้งหมด 52 ขั้น  เมื่อถึงตัวปราสาทจะพบว่าตรงบริเวณทับหลังมีภาพแกะสลักพระอินทร์ประจำทิศ เป็นเทพในร่างฤๅษี( โยคะรัตนามูรติ) และเชื่อว่าฤๅษีนี้รักษาอาการป่วยและงูกัดให้หายได้   เมื่อได้โอกาสไปถึงปราสาทหินพนมรุ้งแล้ว พวกเราได้คาถาวิเศษจากไกด์ว่าเป็นคาถาบูชาพระศิวะ  " โอม-นะมะศิวายะ"  หลังจากสวดแล้วก็อธิษฐาน ว่ากันว่าจะสมหวังดังปรารถนา (22 ต.ค. 2560)



5. ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์


ปราสาทเมืองต่ำ




      คำว่า เมืองต่ำ ไม่ใช่ชื่อเดิมแต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ตามความเข้าใจ  ซึ่งปราสาทเมืองต่ำแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ต่ำเมื่อเทียบกับปราสาทหินพนมรุ้งที่ตั้งอยู่บนที่สูง  เชื่อว่าเป็นปราสาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย  เนื่องจากพบศิวะลึงค์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุด ส่วนพระวิษณุน่าจะได้รับการนับถือในฐานะเทพเจ้าชั้นรองเพรสะภาพแกะสลักส่วนมากที่ปราสาทแห่งนี้ มักเกี่ยวกับการอวตารของพระวิษณุ  โดยปราสาทเมืองต่ำแห่งนี่สร้างขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 และถูกทิ้งร้างในที่สุด 

ปราสาทเมืองต่ำ




ปราสาทประธาน














     หน้าบันจากปราสาทเมืองต่ำจะสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เป็นศิลปะเขมรแบบบาปวนอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 ทับหลังจากปราสาทประธานของปราสาทเมืองต่ำ  สลักภาพพระอินทร์ประทับเหนือหน้ากาลเป็นศิลปะบาปวนเช่นกัน  นอกจากนี้ยังพบบัวยอดปราสาท ส่วนบนของปราสาทเรียกว่าบัวยอด สลักจากดินทราบเป็นรูปดอกบัว ประดับอยู่บนยอดของปราสาทแต่ละหลัง  (22 ต.ค. 2560)



6. ปราสาทตาเมือน จ.สุรินทร์



ปราสาทตาเมือน


       กลุ่มปราสาทตาเมือนธม เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ สร้างขึ้นในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพสูงสุด  เป็นโบราณสถานศิลปะขอมสมัยบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งปราสาทแห่งนี้ประกอบด้วย ปราสาทประธาน ที่สร้างดินหินทราย มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งหันหน้าไปทางทิศใต้ ภายในมีศิวลึงค์ที่สกัดจากหินทรายธรรมชาติและมีท่อโสมสูตรหรือท่อระบายน้ำมนต์จากการบูชาศิวลึงค์  นอกจากนี้ยังพบปราสาทบริวาร  บรรณาลัย  ระเบียงคด  สระน้ำ อโรคยาศาลและธรรมศาลา



แผนผังกลุ่มปราสาทตาเมือน




















อโรคยาศาล




ธรรมศาลา


     จากการที่ผู้เขียนได้เข้าไปสัมผัสกลุ่มปราสาทตาเมือนธมข้างต้นจะเห็นได้ว่า  เรายิ่งเข้าใกล้ชายเเดนกัมพูชามากขึ้น  เนื่องจากเป็นเขตแดนที่มีทหารไทย-กัมพูชาเป็นผู้เฝ้าตัวปราสาท  ซึ่งการเข้าไปสำรวจชายแดนของผู้เขียนครั้งนี้  ทางพวกพี่ๆ ทหารที่คอยดูแลความปลอดภัยจะไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปให้เห็นทหารเด็ดขาดเนื่องจากเหตุผลบางประการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างทหารไทยและกัมพูชา  ในความความรู้สึกของผู้เขียนนึกแล้วยังขนลุกไม่หาย ทหารทั้งสองฝ่ายยืนประจันหน้ากันราวกับว่าพร้อมที่จะปะทะกันทุกเมื่อหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มก่อน   ทั้งนี้ปัญหาที่มีทหารเฝ้าตัวปราสาทก็เพราะดังที่กล่าวข้างต้น สถานที่ท่องท่องเที่ยวเหล่านี้อยู่ติดกับชายแดน อีกทั้งเคยมีปัญหาความขัดเเย้งปราสาทมาหลายครั้งแล้ว  ปราสาทตั้งอยู่ในชายแดนไทย แต่คนสร้างปราสาทกลับเป็นชาวกัมพูชานั่นคือพระเจ้าชัยวรมัน  ก็แน่นอนล่ะ เขาก็ต้องหวงแหนสิ่งที่วีรบุรุษของพวกเขาเป็นคนสร้างอยู่แล้ว  และปัญหาดังกล่าวยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน   (23 ต.ค. 2560)




7. ปราสาทตาควาย จ.สุรินทร์


ปราสาทตาควาย




      เป็นโบราณสถานที่สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ด้านในมีแท่นศิวะลึงค์ของศาสนาพราหมณ์ เชื่อว่าจะให้ความโชคดีหากขอพรแล้วก็ใช้น้ำรดแท่นศิวลึงค์ดังกล่าว  ภายนอกปราสาทมีชายแดนติดกับกัมพูชา มีการใช้สันปันน้ำระหว่างไทยーกัมพูชา เพื่อแสดงอาณาเขตของแต่ละประเทศ












แท่นศิวะลึงค์ของศาสนาพราหมณ์ 




สันปันน้ำ


      ปราสาทตาควายเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการเดินทาง  แน่นอนว่าก็เป็นสถานที่อันตรายและน่ากลัวไม่แพ้กับปราสาทตาเมือนธม  เนื่องจากตัวปราสาทซ่อนอยู่ในป่าเขาซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทย-กัมพูชา  ตลอดการเดินทางที่เข้าไปสำรวจพื้นที่จะมีพวกพี่ๆ ทหารประจำอยู่ทุกจุดทั้งทหารไทยและกัมพูชาต่างหันหน้าเข้าหากัน  หากฝ่ายใดตุกติกก็ยิงดับทันที  ทั้งนี้เรื่องสันปันน้ำนับเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของตัวปราสาท  ตอนนี้ยังโชคดีที่สันปันน้ำอยู่ในระดับสูง ทางน้ำไหลผ่านจึงอยู่บริเวณไทย  ถ้าหากวันใดวันหนึ่งสันปันน้ำอยู่ต่ำจนน้ำไหลผ่านไปยังเขตกัมพูชา นั่นแสดงว่าตัวปราสาทไม่ใช่ของไทยแล้ว  (23 ต.ค. 2560)









บทความ/เครดิตภาพ :  Dek-South East Asia

No comments:

Post a Comment